9/08/2554

ข้อมูลเกี่ยวกับพลาสติก

สัญลักษณ์ ตัวย่อ การเลือกใช้และคุณสมบัติเบื้องต้นของพลาสติกแต่ละประเภท

A

ABR              Acrylonitrile-butadiene-rubber
                                เป็นยางสังเคราะห์ ใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางพิเศษ ทนสารเคมี
ABS              Acrylonitrile-butadiene-styrene
ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า,ชิ้นส่วนรถยนต์,หมวกกันน็อค,เครื่องกรองเลือด,อุปกรณ์กีฬา,ท่อส่งก๊าซ,เครื่องโทรศัพท์,คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์
ASA              Acrylate-styrene-acrylonitrile
ใช้ทำฝาครอบเครื่องจักรทางการเกษตร,อุปกรณ์และสัญญาณไฟจราจร,เฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน,มือจับโทรศัพท์โครงทีวีแบบหิ้ว

B
BPA              Bisphenol A    ผลิตจากฟีนอล ใช้ในการผลิตอีพอกซีเรซิน
BTA                  Benzene Toluene Xylene เป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และใช้เป็นตัวทำลาย

C
CA               Cellulose acetate
เหนียวมาก เหมาะสำหรับฉีดหุ้มโลหะ  ,  จับถือได้ดี  , ทนการขีดข่วน และไม่ลื่นเมื่อถูกเหงื่อใช้ทำแถบเสียงแม่เหล็ก,ฟิล์มภาพยนตร์,ฟิล์มห่อ
CAP              Cellulose-acetate-propionate
มีคุณสมบัติ และการใช้งานใกล้เคียงกับ CAB แต่ CAP จะเด่นมากทางด้านงานเคลือบ
CB               Cellulose-butyrate
คุณสมบัติคล้ายๆ กับ CAB แต่ CB จะเหนือกว่าในด้านการดูดกลืนความชื้นน้อยกว่าทนแรงกระทบกระแทก และทนสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ดีกว่า
CAB              Cellulose acetate butyrate
ใช้ทำสารเคลือบผิว,ทำเลนส์กล้องถ่ายรูป,ฝาครอบสัญญาณไฟจราจร,ชิ้นส่วนรถยนต์,ฟิล์มภาพยนต์
CF                Cresol-formaldehyde resin
                                                                ใช้ทำปลั๊กไฟฟ้า
CP               Cellulose propionate
ใช้ทำสารเคลือบผิว,ทำกรอบแว่นตา,หวี,แปรงสีฟัน,ด้ามมีด,แว่นตา,พวงมาลัยรถยนต์,ฟิล์มห่อ

D
DMT             Dimethyl ‘ terephthalate
                                ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เส้นใย                                           
DOP             Diisooctyl phthalate
                                เป็นสารเสริมสภาพพลาสติกในโพลิไวนิลคลอไรด์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Bis (2-ethylhexyl) phthalate

E
EC               Ethyl cellulose
มีคุณสมบัติทนทานแรงกระทบกระแทกสูง,เหนียวทรหด,ทนความดันไฟฟ้า และทนความร้อนสูง เหมาะกับงานไฟฟ้า,ชิ้นส่วนรถยนต์,ชิ้นส่วน UL 94 , V-O
EG               Ethylene Glycol
                                เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ Polyester
EPS/XPS        Expanded polystyrene
โฟมโพลิสไตรีน  เป็นโพลิสไตรีนที่เติมก๊าซเพนเทน   ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารฟาสต์ฟู้ด    วัสดุกันกระเทือนในหีบห่อ นิยมนำไปใช้ในงานด้านฉนวนกันความร้อน เช่น ใช้เป็นสารบุภายในตู้เย็น
ETV rubber     Elevated-temperature-vulcanized rubber
เป็นยางที่ได้จากการบ่มเรซินซิลิโคน เป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้ผนึกรอยต่อพลาสติกที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง
EVA              Ethylene Vinyl Acetate
ใช้ทำรองเท้าแตะ เฟอร์นิเจอร์ ภาชนะบรรจุของแช่แข็ง สายไฟ สายเคเบิ้ล,กรวยที่กั้นถนนพลาสติก
                               
F
FRP              Fiber reinforced plastic
                                พลาสติกที่มีตัวเสริมแรงเป็นเส้นใย เช่น ใยแก้ว ปอ

 G
GPPS            General purpose polystyrene
                                 เป็นโพลิสไตรีนพวกโฮโมโพลิเมอร์  GPPS  ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องรับแรงมาก   เพราะเปราะ นิยมนำไปทำ
                                 กล่องพลาสติก ตลับเทป ไม้บรรทัด ภาชนะใส่อาหาร และชิ้นส่วนภายในรถยนต์
                                        
GRP             Glass  fiber reinforced plastic
                                พลาสติกที่มีตัวเสริมแรงเป็นแก้วในรูปของใยแก้ว เม็ดแก้ว หรือผงแก้ว
                                

  H

HDPE            High density polyethylene

เป็น PE ที่มีความหนาแน่นตั้งแต่ .940 g/cm 3  ขึ้นไป  ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น  ขวดแผงบรรจุยา,ภาชนะบรรจุเครื่องสำอางเครื่องใช้ในบ้าน ของเด็กเล่น  รองเท้า,เสื่อ,เชือกแหอวน,ฉนวนหุ้มสายไฟ และสายเคเบิ้ล,วัสดุเคลือบผิว,ท่อน้ำชนิดแข็ง,ท่อน้ำมันถุงหูหิ้วถุงขยะชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า
               
HIPS             High impact polystyrene
เป็น  PS  ที่ได้จากการเติมสารเติมแต่งบางอย่าง  หรือการผสมกับพวกยาง เช่น SBR เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องรับแรงกระแทก แต่จะเสียความใส และอุณหภูมิใช้งานจะต่ำลง เหมาะสำหรับงานตู้เย็น เรือนตู้โทรทัศน์ วิทยุ เฟอร์นิเจอร์ ของเด็กเล่น
                       
          
L

LDPE            Low density polyethylene

เป็น  PE   ที่มีความหนาแน่น   .910-.925 g/cm3   ใช้ทำถุงเย็น   ,   ถุงซิป  ,  ฟิล์มด้านการเกษตรท่อน้ำหยด  ,  เป็นฉนวนหุ้มสายไฟ และสายเคเบิ้ล  ,  ของใช้ในบ้าน  ,  ของเด็กเล่น  ,  สายน้ำเกลือ ขวดน้ำเกลือ ดอกไม้พลาสติก หลอดยาสีฟัน รองเท้า ฟิล์มห่อรัดรูป (shrink film) และทำวัสดุเคลือบผิว
LLDPE          Linear low density polyethylene
เป็น  PE  ชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้นตรง  คุณสมบัติจะอยู่ระหว่าง  LDPE  และ  HDPE แต่จะนิ่ม และเหนียวมากกว่า LDPE และ HDPE ได้รับการแปรรูปเป็นฟิล์มถึง 65% เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการหีบห่อ เช่น   ใช้ทำเป็นฟิล์มหดรัด   (shrink   film)  ,  ฟิล์ม  ,  ฟิล์มยึดรัดรูป   (streth  film)  ถุงบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักสูง  ถุงบรรจุเสื้อผ้า ถุงบรรจุอาหารแช่แข็ง  การแปรรูปนอกจากในรูปของฟิล์มแล้วก็ยังมีการนำ  LLDPE  มาทำท่อน้ำ เคลือบสายไฟ และสายเคเบิ้ล และของเด็กเล่น       
                               
M
MBS             Methacrylate-butadiene-styrene
มีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใส  แข็งแรง  และทนต่อแสงอุตราไวโอเลต    ใช้ทำชิ้นส่วนโปร่งใสในตู้เย็น   ,   ทำหม้อแบตเตอรี่

MDPE/PEM     Medium density polyethylene

                                เป็น PE ที่มีความหนาแน่น .926-.940 g/cm3         
        
O

OPP             Oriented polypropylene

แผ่นฟิล์ม  OPP   ผลิตจาก  PP   ฟิล์ม  OPP เหมาะสำหรับงานลามิเนท และงานเคลือบผิว นำมาใช้ห่อซองบุหรี่,บรรจุอาหาร,บรรจุผงซักฟอก,ยา,แชมพู,น้ำยาสารเคมี สบู่เหลว นำมาใช้งานแทนแผ่นกระดาษแก้ว
                                               
P
PA                Polyamide (Nylon)
เป็นเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) จัดอยู่ในกลุ่มพลาสติกวิศวกรรม คุณสมบัติที่สำคัญของ  PA   คือ  เหนียว   ,  แกร่ง   ,  ขยายตัวได้มาก   ,  ทนต่อสารเคมี  ทนต่อการขีดข่วน การขัดสี    ,   ทนต่อความร้อน ,   ดูดซึมน้ำได้มาก  แต่ถ้ามีเปอร์เซ็นต์ของกลุ่ม   Amide  ในโครงสร้างลดลง   จะสามารถลดการดูดน้ำ     และความชื้นได้ซึ่งทำให้เสถียรภาพทางโครงสร้าง และทางไฟฟ้าดีขึ้น การใช้งานของ PA กว้างขวางมาก เช่น ใช้ทำแบริ่ง บู๊ซ เฟือง เกียร์ วาล์ว ล้อจักรยานยนต์ ,ด้ามปากกาลูกลื่น แห อวน ถุงน่องสตรี ถุงเท้า  ,   สายไฟ  ,   ปลั๊กไฟฟ้า  ,   ผมเทียม  ,   เส้นใยสิ่งทอ นอกจากนี้ยังใช้ในงานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร โดยผลิตในรูปฟิล์ม
          
PA 6             Polyamide 6 (Nylon 6)
เป็นโพลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาการเปิดวงแหวนของคาโปรแลกทัม     (Caprolactum)       มีคาร์บอน อะตอม ใช้ทำแม่พิมพ์ ถุงน่อง ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เหมือนๆ PA 6,6
PA 6,6           Polyamide 6,6 (Nylon 6,6)
6,6 ได้จากการนับจำนวนคาร์บอนใน Diamine  และ Dibasic acid  ใช้ผลิตเกียร์,ลูกกลิ้งภาชนะบรรจุน้ำมัน แผ่นฟิล์มบรรจุหีบห่อ

PAN              Polyacrylonitrile

 ผลิตจากอะคริโลไนทริล ใช้ผสมกับเส้นใยธรรมชาติ ทำเครื่องนุ่งห่ม

PAS              Polyaryl sulphone

ใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง มือจับเกียร์รถยนต์ ใช้แทนพลาสติกเทอร์โมเซต และ เซรามิกส์ได้

PB                Polybutene

โพลิบิวทีนมีความยืดหยุ่น และเหนียว ใช้ทำท่อ   ทำบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร  บางครั้งเรียกว่า Polybutylene

PBT (P)         Polybutylene terephthalate

เป็นพลาสติกวิศวกรรมในตระกูล Polyester มีคุณสมบัติเด่นคือ เป็นฉนวนไฟฟ้า ภายใต้ความชื้น และสามารถระบายความร้อน  ออกจากตัวได้ดีกว่าพลาสติกทั่วไป   3-5  เท่า   ทนความร้อนสูงมาก มีอุณหภูมิหลอมตัวระดับ 227  C โครงสร้างของโมเลกุลมีระเบียบ (Crystalline) ทำให้แกร่ง เหนียว ทนทานแรงกระทบกระแทกได้สูง ทนสารเคมีเป็นเลิศ ดูดซึมความชื้นต่ำ นิยมใช้ผสมกับสารเติม     แต่งเพื่อให้สามารถทนความร้อนได้สูงขึ้น และมีความแกร่งขึ้น ใช้ทำเปลือกหุ้มวงจรไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ เครื่องกีฬา อุปกรณ์รถยนต์  เช่น เกียร์กันชน  

PC                Polycarbonate

เป็นโพลิเมอร์ในตระกูล Polyester ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพลาสติกวิศวกรรม มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ โปร่งใส แข็ง ทนต่อความร้อนสูง  ทนทานต่อกรดแต่ไม่ทนด่าง  ทนแรงกระแทกได้ดี  ,  ใช้ทำขวดนมเด็ก  ,  ถ้วยชาม  ส่วนประกอบรถยนต์  กระจกหน้าหมวกนักบิน แว่นตานิรภัย เลนส์กล้องถ่ายภาพ , หลังคาโปร่งแสง เครื่องป้องกันอัคคีภัย เครื่องกรองเลือด เครื่องแลกเปลี่ยนออกซิเจนในเลือด ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน

PCTFE           Polychlorotrifluoroethylene

โพลิคลอไรไตรฟลูออโรเอททีลีน มีคุณสมบัติแข็งและใส ใช้ทำกระจกหน้าต่างสำหรับชมทิวทัศน์

PE                Polyethylene

เป็นเทอร์โมพลาสติก   มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี   มีความเหนียว และทนทานต่อแรงดึงปานกลาง พวกที่มีความหนาแน่นต่ำจะใสมากแต่จะขุ่นเมื่อความหนาแน่นสูง ปกติจะไม่ละลายในตัวทำละลายใดๆ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า70 C จะเริ่มละลาย PE ได้ถูกจำแนกเป็นหลายชนิด ตัวหลักๆ ที่ใช้กันมากคือ LDPE , LLDPE , MDPE , HDPE  การใช้งานของ  PE  กว้างขวางมาก  ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์  เช่น  ขวด ,แผงบรรจุยา  ,  และสายน้ำเกลือ  ,  ชิ้นส่วนรถยนต์  ,เชือก  ,แห อวน ถุงพลาสติก  ท่อและรางน้ำ เครื่องใช้ในครัวเรือน  ,  ของเด็กเล่น  ,  ฉนวนหุ้มสายไฟ  ,  สายเคเบิ้ล ดอกไม้พลาสติก เคลือบหลังพรม ผ้าใบพลาสติก แผ่นฟิล์มสำหรับการบรรจุหีบห่อ แผ่นฟิล์มที่ใช้ในการเกษตร
PEEK            Polyether ether ketone
โพลิอีเทอร์คีโทน เป็นโพลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างอีเทอร์กับอีเทอร์คีโทน มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ทนต่อรังสี และกัมมันตรังสี ทนต่อความร้อนสูง ใช้ทำปลอกหุ้มสายไฟฟ้า ขวดใส่กรด และสารเคมี ใช้ทำภาชนะความร้อนสูง

PEG             Polyethylene glycol

(ดู Polyethyelene oxide)

PEOX/PEO     Polyethylene oxide

เป็นเทอร์โมพลาสติกซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มพลาสติกวิศวกรรม โพลิเอททีลีน ออกไซด์ ผลิตจาก Ethylene glycol จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Polyethylene glycol
PET/PETP      Polyethylene terephthalate
เป็นโพลิเอสเตอร์เชิงเส้นตรงที่อิ่มตัวที่สำคัญที่สุด   ถูกใช้งานในรูปของเส้นใยสังเคราะห์เป็นส่วนใหญ่     แต่มีข้อเสียคือ ฝุ่น และสิ่งสกปรกเกาะติดได้ง่าย ดูดซับเหงื่อได้ไม่ดี จึงนิยมผสมกับผ้าฝ้าย  ในรูปของแผ่นฟิล์มที่ผลิตจาก   PET  มีความเหนียว   และใส  มักจะใช้ในงานเกี่ยวกับอาหาร และยา   ,  ในรูปของ   จาน  ชาม   สามารถแช่ตู้เย็น อุ่นในหม้อน้ำเดือด จนถึงเสริฟบนโต๊ะอาหารได้เลย ในรูปของขวดเพ็ท (โดยวิธีเป่ายืด = Stretch-Blow Moulding)  ขวดเพ็ทนี้จะใสเหนียว ไม่แตกง่ายๆ ทนต่อความดันก๊าซได้สูง ทั้งยังผ่าน FDA (คณะ                 กรรมการอาหารและยาเรียบร้อยแล้ว ใช้บรรจุน้ำอัดลม บรรจุอาหาร สุรา ยา เครื่องสำอาง
PETFE           Polyethylene-tetrafluoroethylene
โพลิเอททีลีนเตตราฟลูออโรเอททีลีน   เป็นโคโพลีเมอร์ของเอททีลีน    และเตตราฟลูออโรเอททีลีน ใช้ทำกระจกหน้าต่างของหอชมวิว ท่อระบายอากาศ
PF                Phenol-formaldehyde
มักจะเรียกกันว่าฟีนอลิค   มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีว่า   “Bakelite”   เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซตติ้ง ฟีนอลิคทนความร้อนในสภาวะปกติประมาณ  160  F-180 F  หากผสมวัตถุทนความร้อนบางชนิดจะสามารถทนความร้อนได้ถึง 400  F ฟีนอลิค  เป็นตัวนำความร้อนที่เลว  ติดไฟได้แต่ช้าและดับเอง  จึงมักนิยมใช้ทำมือจับสำหรับอุปกรณ์เครื่องครัว อุปกรณ์ไฟฟ้า ฝาครอบจานจ่ายรถยนต์ ถาดบรรจุสารเคมี  ตู้ทีวี ที่รองนั่งโถส้วม นอกจากนี้ฟีนอลิคยังสามารถทำเป็นโฟมได้อีกด้วย ซึ่งโฟมที่ผลิตจากฟีนอลิคนี้สามารถขยายตัวได้ถึง 300 เท่า โฟมฟีนอลิคนิยมทำเป็นทุ่นลอยน้ำ และใช้เสริมความแข็งแรงในเครื่องบิน             
PIB               Polyisobutylene
โพลิไอโซบิวทิลีน      เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวจึงเฉื่อยต่อปฏิกิริยา     สามารถทนต่อการกัดกร่อนของกรด     เบสอนินทรีย์    และน้ำยาเคมีทั่วไป   โพลิไอโซบิวทิลีนนี้ส่วนใหญ่จะใช้ผสมกับโพลิเมอร์อื่นในการผลิตกาว   ตัวเคลือบผิวผ้า และกระดาษ

PMMA           Polymethyl methacrylate

มีลักษณ์ใส ไม่มีสี สามารถให้แสงส่องผ่านได้ถึง  92%   มีความแข็งแกร่ง และทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดีกว่า  Polystyrene   สมบัติเชิงกล และความคงทนต่อความร้อนดีมาก ส่วนสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้าดีปานกลาง เนื่องจากสมบัติเด่นของPMMA คือ ความโปร่งใส และการนำไปย้อมสีได้ง่าย จึงถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบรถยนต์  เช่น   ไฟเลี้ยว  ไฟท้าย   กระจกรถยนต์  หน้าปัดเข็มไมล์ ประโยชน์การใช้งานอื่นๆ   เช่น  ป้ายโฆษณา  แว่นตา   เลนส์  ใช้ทำกระจกแทนแก้ว   หลังคาโปร่งแสง ก๊อกน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องประดับ เป็นต้น
PMP             Polymethyl pentene
โพลิเมทิลเพนทีน มีความโปร่งใส ทนต่อสารเคมี นำไฟฟ้าและ
ทนความร้อนได้ดี ใช้ผลิตอุปกรณ์ทารการแพทย์ที่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ถาดไมโครเวฟ กระจกแว่นตา
POM             Polyoxymethylene
เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมเซต  ได้จากการเกิดโพลิเมอร์แบบกลั่นตัวของฟอร์มัลดีไฮด์  จึงมักเรียกกันว่า  “Polyformaldehyde”   มีน้ำหนักเบาและเหนียว  ใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ระบบท่อ

PP                Polypropylene

เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุด มีสมบัติเชิงกลดีมาก เหนียว ทนต่อแรงดึง แรงกระแทกและทรงตัวดี มีจุดหลอมตัวที่ 165  C  ไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ต่ำ  เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก มีการนำเอา PP ไปใช้งานในลักษณะเดียวกับ  PE  เมื่อต้องการให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น  PP  ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง  ตัวอย่างเช่น ใช้ทำถุงร้อน ฟิล์มใส ฟิล์มห่อหุ้ม หรือบรรจุอาหารที่ไม่ต้องการให้ออกซิเจนซึมผ่าน พลาสติกหุ้มซองบุหรี่ เชือก แห อวน ถังน้ำมัน ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
           

PPO              Polyphenylene oxide

โพลิเฟนิลีนออกไซด์   จัดเป็นพลาสติกวิศวกรรม    ใช้ผลิตฝาปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า   โครงเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า   แผงหน้าปัทม์รถยนต์   ปลั๊กไฟฟ้า    ปลอกหุ้มสายไฟฟ้าแรงสูง มือจับเกียร์รถยนต์                      
PPS              Polyphenyl sulphide
เป็นพลาสติกวิศวกรรม ซึ่งมีความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน สารเคมีหรือสารละลายได้ดีเยี่ยมอุณหภูมิใช้งานต่ำกว่า 190-204  C ยังไม่มีสารละลายใดทำอันตรายได้ ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า สารเคลือบผิวของภาชนะหุงต้ม แกนใช้พันลวดไฟฟ้า
PS                Polystyrene
PS    เป็นโพลิเมอร์ที่จัดเป็นพวกเทอร์โมพลาสติกที่มีการจัดเรียงตัวภายในโมเลกุลเป็นแบบอะเท็กติก (atactic)  ทำให้อยู่ในรูปของโพลิเมอร์อสัณฐาน    (amorphous)    จึงมีลักษณะโปร่งแสงและใส    นอกจากนี้ PS ยังมีคุณสมบัติเด่นๆ   อีกคือ  มีความแข็งมาก  ไม่ยืดหยุ่น  และเปราะ  ไม่ดูดความชื้นและน้ำ  ไม่มีรส  ไม่มีกลิ่น เป็นฉนวนไฟฟ้า มีอุณหภูมิกลาสทรานซิชั่น (Tg) ประมาณ 100  C จึงทนความร้อนได้ต่ำถ้าสัมผัสกับแสงแดดที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานๆ  อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเกิดรอยแตกได้   เฉื่อยต่อสารเคมี  ทนต่อกรดแก่และเบสแก่  กันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี  อีกทั้งยังขึ้นรูปแบบต่างๆ  ได้ง่ายอีกด้วย  PS  ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น  ใช้ทำอุปกรณ์เครื่องเขียน ,  เครื่องประดับ ส้นรองเท้า กระดุม ,ตลับเครื่องสำอาง ภาชนะ และขวดบรรจุอาหาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสุขภัณฑ์ ฝาครอบหลอดไฟ  ,   กรอบประตูหน้าต่าง    ,   ของเล่น ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้า,ตลับเทป,ตลับ  VIDEO, หมวกกันน็อค,ไฟหน้ารถยนต์ เปลือกแบตเตอรี่ ,แผงหน้าปัทม์รถยนต์ นอกจากนี้ PS ยังได้ถูกผลิตออกมาในรูปของโฟมที่เรียกกันว่า EPS อีกด้วย
PSO/PSU       Polysulphone , Polysulfone
เป็นเทอร์โมพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูง โดยจะสามารถคงสภาพทางด้านกายภาพ และไฟฟ้าได้ในการใช้งานภายใต้อุณหภูมิระหว่าง 65  C   ถึง    149  C  ทนทานต่อการเกิดออกซิเดชั่นได้สูง  ,   ใสโปร่งแสง    ,  ใช้ในน้ำหรือในอากาศได้นานๆ,ทนกรดด่างได้ดี เป็นฉนวนไฟฟ้า ทนความชื้น ใช้ผลิตจานหมุน หรือถาดไมโครเวฟ ฝาเครื่องต้มกาแฟ อุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการฆ่าเชื้อ แผงวงจรไฟฟ้า
PTFE            Polytetrafluoroethylene
โพลิเตตระฟลูออโรเอททีลีน มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีว่า เทปร่อน” มีคุณสมบัติพิเศษที่เด่นมากคือ สามารถทนทานต่อความร้อนได้ดีเยี่ยม โดยที่คุณสมบัติทางกายภาพเชิงกล และไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิประมาณ 300  C เป็นเวลาแรมเดือน มีความเหนียว ขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม เฉื่อยต่อสารเคมี และไม่สามารถละลายได้เลยในตัวทำละลายใดๆ และเนื่องจาก PTFE มีราคาค่อนข้างแพง การใช้งานจึงจำกัดเฉพาะงานที่ต้องการความเหนียว สมบัติทางไฟฟ้า และสมบัติความทนทานต่อความร้อนเป็นพิเศษเท่านั้น  ตัวอย่างเช่น ใช้ทำภาชนะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ใช้หุ้มสายไฟ  ใช้ทำภาชนะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์   ใช้หุ้มสายไฟฟ้า   สายเคเบิ้ล เป็นฉนวนสำหรับมอเตอร์หม้อแปลงไฟฟ้า ขดลวดไฟฟ้า ใช้เคลือบผิว ภาชนะหุงต้มกันติด ฉนวนกันความร้อน

PU/PUR         Polyurethane

โพลิยูรีเทนมีทั้งชนิดที่เป็นเทอร์โมพลาสติก และเทอร์โมเซต โพลิยูรีเทนเป็นพลาสติกที่มีการใช้กันแพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่งเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่อ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น จนถึงเป็นโฟมชนิดแข็ง โพลิยูรีเทนแบ่งออกตามการใช้งานได้เป็น กลุ่ม คือ
  • โพลิยูรีเทนโฟมชนิดยืดหยุ่นได้ (Flexible Polyurethane Foam) ใช้ทำเบาะเฟอร์นิเจอร์ และรองพื้นพรม
  • โพลิยูรีเทนชนิดแข็ง (Rigid Polyurethane Foam) มีคุณสมบัติเด่นๆ คือ เป็นตัวนำความร้อนที่เลวมาก นิยมใช้ ปีกเครื่องบิน ท้องเรือ ภาชนะเก็บของร้อนและเย็น เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และเป็นฉนวนความร้อน
  • โพลิยูรีเทนอีลาสโตเมอร์ (Polyurethane Elastomers) สามารถทนต่อแรงเสียดทานได้ดีมาก มีความยืดหยุ่นดี     ใช้ทำยางรถยนต์  พื้นรองเท้า นอกจากนี้    Elastomer ยังสามารถนำไปผลิตเป็น  Elastic   Fiber    ซึ่งใช้อุตสาหกรรมสิ่งทอ     ไหมเย็บแผล และชุดว่ายน้ำ
PVAC            Polyvinyl acetate
โพลิไวนิล อะซิเตท มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่เป็นพิษ ทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชั่น  และเฉื่อยต่อรังสี UV ทนทานต่อจารบี  ไขมัน และน้ำมันได้เป็นอย่างดี  ใช้ทำกาว  latex สีน้ำพลาสติก  ทำฟิล์มเคลือบผิวรูปถ่าย เคลือบพื้น นอกจากนี้โพลิไวนิล อะซิเตทยังสามารถนำไปเตรียมเป็นโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ (Polyvinyl alcohol) และโฟลิไวนิลอะซีทัล (Polyvinyl acetal) ได้อีกด้วย
PVA/PVAL      Polyvinyl alcohol
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษคือ สามารถย่อยสลายได้โดยวิธีชีวภาพ และติดไฟได้คล้ายกระดาษ นอกจากนี้ยังสามารถละลายในน้ำได้ การใช้งานของโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ แบ่งออกเป็น ลักษณะคือ
1) อาศัยคุณสมบัติการละลายในน้ำ เช่น ใช้เป็นตัวช่วยทำให้ระบบอิมัลชัน และแขวนลอยต่างๆ ข้นขึ้น (คือใช้ เป็น thickening agent) และใช้ทำแผ่นฟิล์มเคลือบกระดาษซึ่งมีความใสเหนียว และทนต่อการขีดข่วน
2)นำโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ไปทำปฏิกิริยาเคมีให้ไม่สามารถละลายแล้วจึงนำมาใช้งาน ซึ่งโพลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ไม่ละลายในน้ำนี้สามารถดูดน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี (ประมาณ  30%    โดยน้ำหนัก)   จึงใช้เป็นเส้นใยแทนฝ้ายได้ ผ้าที่ทำด้วยเส้นใยโพลิไวนิลแอลกอฮอล์นี้สวมใส่สบาย ซักง่าย ทนทานต่อการสึกหรอ และสามารถคงรูปได้เป็นอย่างดี
PVB              Polyvinyl butyral
โพลิไวนิลนิลบิวทิรับ เป็นโพลิเมอร์ที่ไม่มีสี เสถียรต่อแสง และมีหมู่ไฮดรอกซิล (ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดติดจึงมักถูกนำไปใช้ทำกระจกปลอดอันตราย (safety glass) ใช้เป็นสารเติมแต่งในการทำให้เหนียว และยืดหยุ่นได้โดยเฉพาะกาวที่ใช้ในการประกอบเครื่องบิน
PVC                  Polyvinyl chloride
พีวีซี เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง  ทนต่อน้ำน้ำมัน,กรด,ด่าง,แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ ยกเว้นคลอรีน  ทนต่อการขัดถู   เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี  และเนื่องจาก PVC มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะ  และสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อน และแสงแดด ดังนั้นจึงมักนำ  PVC  ไปทำ  Compounding ก่อน โดยเติมสารเติมแต่งต่างๆ เช่น stabilizer , plasticizer เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ทำท่อ ข้อต่อ ฉนวนหุ้มสายไฟ สายเคเบิ้ล แผ่นพลาสติก ฟิล์ม หนังเทียม รองเท้า บัตรเครดิต ทำจานแผ่นเสียง อุปกรณ์รถยนต์ ขวดพลาสติก ของเด็กเล่น
PVDC            Polyvinylidene chloride
โพลิไวนิลลิดีนคลอไรด์  เป็นโพลิเมอร์ที่มีความเป็นผลึกสูง มักถูกนำไปใช้งานในรูปของฟิล์มห่อของ  เพราะโปร่งใส   เหนียว    และสามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ และก๊าซได้เป็นอย่างดี
PVDF/PVF      Polyvinylidene fluoride
โพลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์ เป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อความร้อน  ทำให้สามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูงถึง   150  C   มีความสามารถในการต้านทานตัวทำละลาย และสารเคมีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี     นอกจากนี้แล้วโพลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์     ยังทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้งาน ได้แก่ ฟิล์มห่อของ ปลอกหุ้มสายไฟฟ้า ท่อน้ำ ข้อต่อท่อน้ำ ท่อหดยืดได้
PVFM                Polyvinyl formal
โพลิไวนิลฟอร์มัล เป็นโพลิเมอร์แบบอสัณฐาน การใช้ประโยชน์หลักของโพลิไวนิลฟอร์มัลคือ ใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าสำหรับลวดแม่เหล็ก นอกจากนี้ก็ใช้ทำกรอบเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีด และใช้ทำชิ้นส่วนเฉพาะงานที่ต้องการความแข็งแรง และทนความร้อน

S
SAN/AS         Styrene-acrylonitrule
เป็นโพลิเมอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คุณสมบัติในการทนต่อความร้อน และเหนียวกว่าโพลิสไตรีน และคงคุณสมบัติที่ดีของโพลิสไตรีนไว้ เช่น ความแข็ง และโปร่งใส การใช้งานจะคล้ายคลึงกับโพลิสไตรีนแต่จะใช้ในกรณีที่ต้องการคุณ
สมบัติที่ดีกว่า เช่น จุดหลอมตัวที่สูงกว่า เป็นต้น ตัวอย่างชิ้นงานได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในบ้าน และเครื่องครัวที่มีคุณภาพสูง
SBR              Styrene-butadiene rubber
สไตรีนบิวทาไดอีนรับเบอร์เป็นผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์อเนกประสงค์ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกายภาพคล้ายกับยางธรรมชาติ  และสามารถทนต่อการสึกกร่อนจากการขัดสีได้สูงมาก จึงทำให้ SBR มีปริมาณการผลิตและการใช้มากกว่ายางธรรมชาติ    และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี   การใช้งานได้แก่   ทำพื้นรองเท้า   ฟองน้ำยาง    แผ่นรองพื้นพรม ถุงมือทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย ใช้ผสมกับยางธรรมชาติ ทำยางรถยนต์ (เหตุที่ไม่ใช้ SBR ล้วนๆ ทำยางรถยนต์ก็เนื่องมาจาก SBR ร้อนเร็วกว่ายางธรรมชาติมาก)
SM               Styrene monomer
                                เป็นวัตถุดิบในการผลิตโพสิสไตรีน
SMA             Styrene-maleic anhydride
สไตรีนมาเลอิกแอนไฮโดรด์ ใช้ผลิตชิ้นส่วนภายในรถยนต์ ท่อปรับอากาศ เลนส์ ภาชนะไมโครเวฟ ถ้วยชาม ภาชนะบรรจุของร้อน

T
TA,TPA,PTA    Terephthalic acid
กรดเทเรฟทาลิก ใช้ผลิตสารเสริมสภาพพลาสติก เส้นใย โพลิเอสเตอร์ ฟิล์ม
TUF              Thiourea-formaldehyde
ไทโอยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ ใช้ผลิตกระดุมติดเสื้อผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า

U
UF                Urea-formaldehyde
                                ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า กระดุม
UHMWPE       Ultrahigh molecular weight polyethylene
โพลิเอททีลีนน้ำหนักโมเลกุลสูงพิเศษ  มีความเหนียว   และทนทานต่อการเสียดสี    ใช้ผลิตเกียร์ หัวค้อน หมวกกันน็อค ฉนวนบุภายใน ถังเคมี
UPVC            Unplasticized polyvinyl chloride
โพลิไวนิลคอลไรด์ชนิดไม่ใส่สารเสริมสภาพพลาสติก    มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะ   ใช้ทำฟิล์ม    ใช้เคลือบ     ทำขวดน้ำมันพืช กรอบหน้าต่าง ท่อน้ำ

Final project sweet corn Kanchanaburi

  1. สืบค้น
  • ข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดกาญจนบุรี 
กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก
กาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่ง และป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา
ประวัติและความเป็นมา :
พื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้ง จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมา ที่ต่อเนื่อง และยาวนาน ประวัติ หน้าสุดท้ายของกาญจนบุรี ย้อนกลับไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์หน้าแรก ได้อย่างบังเอิญ เมื่อเชลยศึก ที่ถูกเกณฑ์ มาสร้างทางรถไฟคนหนึ่ง ค้นพบเครื่องมือหิน ของมนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ บริเวณ สถานีบ้านเก่า ต.จระเข้เผือก อ.เมือง ทำให้เกิดการขุดค้นทางโบราณคดี และสามารถ ค้นพบหลักฐานของ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก แม้จนถึงปัจจุบันยังขุดพบอยู่
ในสมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ ของ ประเทศไทย พบซาก โบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ที่ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี (ปัจจุบัน เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนเขาแหลม ) ซึ่งเป็นเจดีย์ ลักษณะเดียวกับ จุลประโทณเจดีย์ จ.นครปฐม เจดีย์ ที่บ้านคูบัว จ.ราชบุรี และที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ ยังพบฐาน เจดีย์ และ พระพิมพ์ สมัยทวารดี จำนวนมาก ที่ บ้านท่าหวี ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง อีกด้วย แสดงว่าในสมัยนั้น พื้นที่ ริมแม่น้ำหลายแห่ง ซึ่งเป็นเส้นทาง คมนาคม สำคัญ มีชุมชน หรือ เมืองโบราณ ซึ่ง มีความสัมพันธ์ กับชุมชน โบราณ ใกล้เคียงกัน
ในสมัย พุทธศตวรรษ ที่ 16-18 ขอม ได้แผ่อิทธิพล เข้ามาใน ประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานสำคัญ คือ ปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็น ศิลปะขอม สมัยบายน มีอายุในช่วงสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่เป็นศิลปะขอม สมัยเดียวกัน ที่เมืองครุฑ และ เมืองกลอนโด อ.ไทรโยค
ในสมัย สุโขทัย พบหลักฐาน ในพงศาวดารเหนือ ว่า กาญจนบุรี ตกเป็นเมืองขึ้น ของ สุพรรณบุรี ตามที่กล่าวว่า พญากง ได้มาครอง เมือง กาญจนบุรี แต่ก็ไม่มีหลักฐานอื่น มาสนับสนุน ต่อมา ในสมัย อยุธยา กาญจนบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ โดยตัวเมือง ตั้งอยู่ ที่บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า ใกล้เขาชนไก่ และ ยังปรากฏ หลักฐาน เป็นซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
กาญจนบุรี ยังคงเป็นเมืองหน้าด่าน สืบเนื่องมาจนถึง สมัยกรุงธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ โดย ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมือง กาญจนบุรี มาตั้งใหม่ ที่บ้าน ปากแพรก เพื่อมาตั้งรับทัพ พม่า ที่เดินทัพ ลงมาตามลำน้ำแม่กลอง เพื่อเข้าตี กรุงเทพฯ ได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบเมือง อย่างมั่นคง ใน สมัยรัชกาลที่ 3 และให้มีเจ้าเมือง คือ พระประสิทธิสงคราม นอกจากนั้น ยังตั้งหัวเมืองเล็กๆ ตามรายทาง เป็นหน้าด่านอีกเจ็ดแห่ง
สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองประเทศใหม่ เป็นมณฑลเทศาภิบาล เมือง กาญจนบุรี ถูกโอนมาขึ้นกับมณฑล ราชบุรี และ แบ่งการปกครองเป็นสามอำเภอ คือ อ.เมือง อ.เหนือ (ปัจจุบันคือ อ.ท่าม่วง) และ อ.ใต้ (ปัจจุบัน คือ อ.พนมทวน) และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2467 ได้ตั้งอำเภอเพิ่มอีกสองแห่ง คือ อ.ท่ามะกา และ อ.ทองผาภูมิ กับ กิ่ง อ.สังขละบุรี
ในช่วงสงคราม มหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่น ตัดสินใจสร้างทางรถไฟ สาย ไทย - พม่า เชื่อมจากสถานีหนองปลาดุก จ.ราชบุรี ผ่าน กาญจนบุรี เลาะริมแม่น้ำแควน้อย ไปเชื่อมกับ ทางรถไฟ ที่สร้างมาจาก พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นทางรถไฟ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีผู้คนจำนวนมาก เดินทางมาเยี่ยมชม เพื่อคาราวะ ต่อดวงวิญญาณ ผู้เสียชีวิต และรำลึก ถึงความโหดร้าย ทารุณ ของสงคราม
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพเมียนม่าร์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์


       ตราประจำจังหวัด
รูปเจดีย์สามองค์ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางศาสนา ของจังหวัดกาญจนบุรี



คำขวัญประจำจังหวัดกาญจนบุรี    แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก 

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

พรรณไม้มงคลพระราชทาน ปลูกเพื่อเป็นมงคลของจังหวัดกาญจนบุรีมีชื่อว่า "ขานาง" 
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Homalium tomentosum (Vent.) Benth. ชื่อสามัญคือ Moulmein Lancewood ชื่อภาษาไทยอื่นๆ คือ ค่านาง ช้างเผือกหลวง เปลือย ลิงง้อ

ขานาง เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีเทาขาวนวลเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล นุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับแผ่นใบรูปไข่ กว้าง 5-13 ซ.ม. ยาว 10-20 ซ.ม. ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผลิดอกเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลเล็กมีฐานดอกขยายปีกติดที่ขั้วผล

พรรณไม้ชนิดนี้ขึ้นบริเวณป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี บริเวณที่เป็นเขาหินปูน สูงจากระดับน้ำทะเล 100-350 เมตร ออกดอกในช่วงเดือนธ.ค.-ม.ค.

ประโยชน์ของต้นขานาง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง แข็ง เหนียว ใช้ทำเครื่องเรือน เสา ด้ามเครื่องมือการเกษตร 
ต้นขานาง



  • ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาพัฒนา

ถ่านดูดกลิ่นจากซังข้าวโพด



ถ่านดูดกลิ่น


วิเคราะห์ตัวบรรจุภัณฑ์ของถ่านดูดกลิ่นจากซังข้าวโพด
1.             บรรจุภัณฑ์ส่วนมากจะใช้พลาสติกในการห่อหุ้ม
2.             ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น เป็นวัสดุที่สิ้นเปลืองและย่อย   สลายยาก
3.             กราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่สะดุดตา ทำให้มันน่าสนใจ
4.             ผลิตภัณฑ์ถ้าแกะออกมาจากบรรจุภัณฑ์มันทำให้เปื้อนมือ ทำให้ไม่น่าใช้



ขั้นตอนการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด



การเผาถ่านด้วยถัง200ลิตร